การจำแนกประเภทของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียว
การจำแนกประเภทของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียว
จากการทบทวนวรรณกรรม การจำแนกประเภท
ของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียว หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็น
มิตรกับสิ่งแวดล้อมมีหลากหลายมุมมอง โดย
ในบทความนี้จะนำ เสนอใน 3 แนวคิดดังต่อไปนี้
1. การแบ่งตามแนวคิดของสถาบันวิจัยทางการ
ตลาด (Natural Marketing Institute : NMI)
รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ที่เป็นผลมาจากการวิจัย
ซึ่งสัมภาษณ์ชาวอเมริกันกว่า 4,000 คน ในปี 2009
โดยแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 5 กลุ่ม (วีระ
มานะรวยสมมบัติ, 2554) ตามระดับความเข้มข้น
ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1.1 กลุ่มผู้บริโภคที่มีวิถีชีวิต ซึ่งให้ความ
สำ คัญกับเรื่องสุขภาพและการทดแทนอย่างยั่งยืน
(Lifestyles of Health and Sustainability: LOHAS)
ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
ผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ และเป็นกลุ่มที่มีการเปลี่ยนแปลง
และปฏิบัติอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่มักเป็นสตรีวัย
กลางคนและสมรสแล้ว พวกเขามองเรื่องสุขภาพและ
การอนุรักษ์ทรัพยากรว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือมีความ
เกี่ยวข้องกันอย่างมาก จึงนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดี
ทั้งกับตนเองและโลก โดยให้ความสำ คัญกับเรื่องของ
ราคาน้อยกว่าคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคกลุ่มนี้
มีการบริโภคอาหาร และใช้สินค้าออร์แกนิกที่ผลิตในท้องถิ่น ขับรถยนต์ไฮบริด หรือรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้า
อยู่บ้านที่มีการออกแบบอย่างคำ นึงถึงสิ่งแวดล้อม
เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน จับจ่ายอย่าง
รับผิดชอบต่อสังคม ใช้ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
และการซื้อขายสินค้าในราคาเป็นธรรม
1.2 กลุ่มผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอยู่บ้าง
แต่ไม่ถึงกับให้คำ มั่นสัญญาว่าจะบริโภคอย่างคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Naturalites ) เป็นกลุ่มผู้บริโภค
ที่ห่วงเรื่องสุขภาพของตนเองเป็นหลัก พวกเขา
จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่คิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าสำ หรับตนเองและบุคคลในครอบครัว แม้ว่ากลุ่มนี้
ไม่ได้มีพฤติกรรมสีเขียวที่เกิดจากสำ นึกต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ยังอยากที่จะเรียนรู้
โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพ และค่อยๆ เริ่ม
เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นตามลำ ดับ
1.3 กลุ่มผู้บริโภคตามกระแส (Drifter)
เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ตามกระแสสังคม แต่ไม่ได้เชื่อ
หรือมีความเข้าใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง
ส่วนใหญ่มักเป็นคนหนุ่มสาวหรือคนที่อาศัยอยู่ตาม
เมืองใหญ่ คนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมสีเขียว ซึ่งเป็นเรื่อง
ที่อยู่ในกระแสความนิยม แต่ยังไม่ได้มีค่านิยมด้าน
สิ่งแวดล้อมที่ผูกเข้ากับการใช้ชีวิตประจำ วันอย่าง
แท้จริง
1.4 กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ได้มีความคิดเรื่อง
สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง แต่ก็มีส่วนร่วมในบางกิจกรรม
(Conventional) เป็นผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมสีเขียว
ก็ต่อเมื่อสิ่งนั้นเป็นผลดีจริงในทางปฏิบัติแบบที่
เห็นผลชัดเจน ไม่ซับซ้อน เช่นการเลือกซื้อตู้เย็น
แบบประหยัดไฟ เพราะรู้ดีว่าจะช่วยลดค่าไฟในบ้าน
ได้แน่นอน ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีพื้นฐานเป็นคนประหยัด
จึงถนัดในการรีไซเคิล และการนำสิ่งของต่างๆ กลับ
มาใช้ใหม่ (Reuse)
1.5 กลุ่มผู้บริโภคที่ไม่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม
(Unconcerned) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มักจะมีรายได้และการศึกษาต่ำ กว่ามาตรฐาน จึงละเลยและไม่ได้
ให้ความสำ คัญกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
กับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเหมือนกลุ่มอื่นๆ
2. การแบ่งตามกรอบแนวคิดความโน้มเอียงด้าน
สิ่งแวดล้อม (Environmental Propensity
Framework) แบ่งผู้บริโภคออกเป็นกลุ่ม จากการ
พิจารณา 2 องค์ประกอบหลัก โดยองค์ประกอบแรก
คือค่านิยมด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental
Values) มีมุมมองว่ามนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับ
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น
ส่งผลให้วิถีการดำ เนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลง
ไปในทิศทางที่ปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะ
ตระหนักว่าสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญกับบุคคล ระบบ
เศรษฐกิจ และโลก ขณะที่องค์ประกอบที่สอง คือ
ประสิทธิผลของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental
Self Efficacy) ซึ่งหมายถึงความสามารถของบุคคล
ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อนำ สององค์
ประกอบดังกล่าวมาพิจารณาร่วมกัน สามารถแบ่ง
ผู้บริโภคออกได้เป็น 4 กลุ่ม (Oliver, 2007) ดังนี้
2.1 ผู้บริโภคกลุ่มสีเขียวแท้ (Active Greens)
เป็นผู้บริโภคที่มีค่านิยมในการให้ความสำ คัญต่อ
คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสูง ขณะเดียวกัน
มีระดับการรับรู้ด้านประสิทธิผลของบุคคลต่อ
สิ่งแวดล้อมในระดับที่สูงด้วย จึงเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มี
ความพร้อม ความเต็มใจ ความสามารถในการปฏิบัติ
ตนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และมีพฤติกรรมการบริโภค
ที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์สีเขียว
2.2 ผู้บริโภคกลุ่มสีเขียวแฝง (Latent Greens)
เป็นผู้บริโภคที่มีค่านิยมในการให้ความสำ คัญต่อ
คุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสูง แต่มีระดับการรับรู้
ด้านประสิทธิผลของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ
กล่าวคือเป็นผู้บริโภคที่มีความเชื่อและทัศนคติที่ดี
ต่อสิ่งแวดล้อม แต่มองว่าการเสียสละของปัจเจกบุคคลไม่สามารถจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพ
แวดล้อมได้
2.3 ผู้บริโภคกลุ่มสีเขียวอ่อน (Potential
Greens) เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีค่านิยมในการให้
ความสำ คัญต่อคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำ
แต่มีระดับการรับรู้ด้านประสิทธิผลของบุคคลต่อ
สิ่งแวดล้อมในระดับสูง เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความเชื่อ
ว่าการเสียสละหรือการกระทำ ของปัจเจกบุคคล
สามารถจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพ
แวดล้อมได้ แต่ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตนเพื่อ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2.4 ผู้บริโภคกลุ่มที่ไม่ใช่สีเขียว (NonGreens)
เป็นผู้บริโภคที่ทั้งค่านิยมในการให้
ความสำ คัญต่อคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อม และระดับ
การรับรู้ด้านประสิทธิผลของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม
อยู่ในระดับต่ำ ไม่เห็นความสำ คัญของการบริโภค
เพื่อสิ่งแวดล้อม และไม่มีความเชื่อว่าการกระทำ ของ
บุคคล สามารถจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพ
แวดล้อมได้
3. การแบ่งตามผลการศึกษาของ Paco , Raposo &
Filho (2009) เป็นการนำ เสนอผ่านการแบ่งส่วนตลาด
(Segment) โดยใช้เกณฑ์ความอ่อนไหวต่อความ
ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา
งานวิจัยนี้ได้ทำ การศึกษากับกลุ่มผู้บริโภคชาวโปรตุเกส
ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำ นวน 887 คน ผลการศึกษา
พบว่า สามารถแบ่งส่วนตลาดออกเป็น 3 ส่วนตาม
กลุ่มผู้บริโภค ดังนี้
3.1 กลุ่มนักกิจกรรมสีเขียว (The Green
Activists) ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 25-34 ปี และ
45-54 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับสูง มักทำ งานด้าน
วิทยาศาสตร์ (Scientific) และศิลปะ (Artistic)
มีรายได้อยู่ในระดับสูง กลุ่มนี้มีอยู่ประมาณร้อยละ
35 ของผู้บริโภคทั้งหมด พวกเขาให้ความสำ คัญกับินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม มีความอ่อนไหวง่ายต่อการ
ประหยัดทรัพยากร อย่างไรก็ตามผู้บริโภคกลุ่มนี้
ยังอาจจะหวั่นไหวกับการส่งเสริมการตลาดและ
การโฆษณาได้เช่นกัน
3.2 กลุ่มที่เป็นกลาง (The Uncommitted)
คิดเป็นร้อยละ 36 ของผู้บริโภคทั้งหมด โดยส่วนใหญ่
จะเป็นวัยรุ่นและคนทำ งาน มีอายุระหว่าง 18-34 ปี
เช่น นักศึกษา พนักงานบริการ พนักงานขาย ระดับ
รายได้เฉลี่ย 500-1,000 ยูโรต่อเดือน อาศัยอยู่ใน
ตัวเมือง กลุ่มนี้เป็นบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับการ
รักษาสิ่งแวดล้อม แต่พฤติกรรมที่ปฏิบัติอาจจะยัง
ไม่ชัดเจนนัก
3.3 กลุ่มที่ยังไม่สามารถระบุได้ (The
Undefined) คิดเป็นร้อยละ 29 ของผู้บริโภคทั้งหมด
ส่วนใหญ่มีอายุและการศึกษาน้อยกว่า 2 กลุ่มแรก
เป็นพนักงานที่ไร้ทักษะและแรงงานทั่วไป ที่มีความรู้
เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับต่ำ และไม่
เห็นว่าการกระทำ ของตนจะสามารถปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมให้ดีขึ้นได้ ดังนั้นพวกเขาจึงมีพฤติกรรม
ที่เป็นลบต่อสภาพแวดล้อม และเห็นว่าการกระทำ
ของผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้า ต้องการส่งเสริมการ
ตลาดมากกว่าที่จะทำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
จากแนวคิดการแบ่งส่วนตลาดที่นำ เสนอ
ดังกล่าว เป็นประโยชน์กับองค์กรธุรกิจและนักการ
ตลาดหลายประการ กล่าวคือ ตลาดที่ผู้บริโภคเป็น
กลุ่มสีเขียวหรือให้ความสำ คัญกับผลิตภัณฑ์สีเขียว
อยู่แล้วนั้น หากนักการตลาดได้ทราบถึงลักษณะ
ความต้องการและขอบเขตความพอใจที่เฉพาะ
เจาะจงของตลาดส่วนนี้ จะสามารถออกแบบและ
นำ เสนอผลิตภัณฑ์ได้ตรงกับความต้องการมากขึ้น
อันจะพัฒนาไปสู่ความไว้วางใจ และความภักดีต่อ
ตราผลิตภัณฑ์และกิจการในที่สุด ขณะเดียวกัน
สำ หรับกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่ใช่กลุ่มสีเขียว หรือกลุ่มที่
ยังไม่สามารถระบุได้ นักการตลาดอาจมีการออกแบบโปรแกรมการตลาดใหม่ๆ อันเป็นสิ่งกระตุ้นผู้บริโภค
กลุ่มนี้ ให้มีการรับรู้ถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ รวมถึง
คุณค่าของตัวเองในฐานะที่เป็นผู้บริโภคผลิตภัณฑ์
สีเขียว การรับรู้ที่ถูกต้องจะส่งผลต่อความเข้าใจ
และเชื่อมโยงไปยังแนวโน้มของการกระทำ และการ
แสดงพฤติกรรม ตามลำ ดับ เช่นเดียวกับผู้บริโภค
กลุ่มที่ตามกระแสสังคม อาจใช้กลยุทธ์ของกลุ่ม
อ้างอิงที่ผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าวมีโอกาสเลียนแบบ
การบริโภค เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้หัน
มาสนใจผลิตภัณฑ์ก่อน หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนของ
การให้ข้อมูลเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูก
ต้อง เพื่อพัฒนาไปสู่ความไว้วางใจ และความภักดีต่อ
ตราผลิตภัณฑ์และกิจการเช่นเดียวกับกลุ่มผู้บริโภค
สีเขียว นั่นเอง
นอกจากการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้น
แล้ว สิ่งจำ เป็นสำ หรับนักการตลาด คือการค้นหา
แรงจูงใจและแนวคิดในการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพื่อ
สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำ ให้ทราบถึงแรงผลักดันที่ทำ ให้
ผู้บริโภคเหล่านั้นมีพฤติกรรมในการบริโภคผลิตภัณฑ์
สีเขียว ซึ่งโดยภาพรวมแล้ว จะเกิดจากความต้องการ
พื้นฐานที่คล้ายๆ กัน เช่น การเข้าควบคุม เมื่อใด
ก็ตามที่ผู้บริโภครับรู้ถึงความไม่ปกติ หรือรู้สึกว่า
บางอย่างเริ่มไม่อยู่ในการควบคุม พวกเขาจะรีบทำ
อะไรบางอย่าง เพื่อให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นกลับเข้าสู่
ภาวะปกติหรือกลับมาอยู่ในการควบคุมอีกครั้ง เมื่อ
ผู้บริโภคพบว่าปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว
ผู้บริโภคจะเกิดการตื่นตัวและเพิ่มความระมัดระวัง
ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ใช้เวลาพินิจ
พิเคราะห์ ศึกษาข้อมูลของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด
เป็นต้น
http://human.pn.psu.ac.th/ojs/index.php/eJHUSO/article/viewFile/103/112
IL158Tipakorn1994
วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558
การตลาดสีเขียว
การตลาดสีเขียว
“ผลิตภัณฑ์สีเขียว” จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการทางตลาดแบบที่เรียกว่า การตลาดสีเขียว (green marketing) ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแลสภาพแวดล้อมของโรงงานให้สะอาด มีมาตรการกำจัดของเสียออกจากโรงงานไม่ให้ออกมาทำลาย สิ่งแวดล้อม รวมทั้งในแง่วิจัยและพัฒนาก็ต้องไม่ให้เป็น พิษภัยกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา เช่น เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โฟมซึ่งย่อยสลายได้ยากให้เป็นวัสดุอื่น เลิกใช้ถุง หรือขวดพลาสติก หันมาใช้วัสดุอื่นเพื่อการรีไซเคิลได้ในต่างประเทศการตลาดสีเขียวที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงมากจะ เป็นเรื่องของ “บรรจุภัณฑ์” โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม เพราะภาชนะเหล่านี้เมื่อใช้ไปแล้วทิ้งไป ธรรมชาติ จะย่อยสลายได้ในเวลาต่างๆ กัน เช่น แก้วจะย่อยสลายในเวลากว่าพันปีถุงพลาสติกใช้เวลาหลายพันปีส่วนโลหะใช้ เวลาเพียงร้อยปีและกระดาษเพียงสิบปีเท่านั้น ดังนั้น ผู้ผลิตที่ใช้วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเร็วกว่า ย่อมได้ เปรียบคู่ต่อสู้ในแง่การตลาดสีเขียวมากกว่า ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการ ตลาดสีเขียว (green marketing) ในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับ green ใช้เกณฑ์การวัดทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว โดยดู ที่ยอดขายสินค้า ไม่เน้นการวัดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพ เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัด พลังงาน รถยนต์ใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน สวนผักปลอดสารพิษ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก เป็นต้น ระดับ greener มีจุดประสงค์มากกว่าการทำยอดขาย แต่หวังผลด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมให้คน ร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และทรัพยากร มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มากขึ้น เช่น นอกจากขาย รถยนต์ประหยัดพลังงานแล้ว บริษัทยังมีแคมเปญรณรงค์ให้คนใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีการจัดกิจกรรม วันเช็คสภาพรถ และให้ความรู้หมั่นตรวจสภาพรถบ่อยๆ เป็นการประหยัดน้ำมัน และลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออก มาสู่อากาศด้วย ดังนั้นตัววัดระดับนี้จึงมีทั้งยอดขายและ จำนวนคนที่มาร่วมกิจกรรม ระดับ greenest เป็นระดับที่ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ขึ้นในสังคม เช่น การบริการที่เปิดโอกาสให้คนที่เป็น เจ้าของรถยนต์ประหยัดน้ำมันแต่ไม่ค่อยได้ใช้รถ กรณีต้อง ไปทำงานต่างประเทศช่วงหนึ่งโดยนำรถมาให้คนอื่นเช่า ขับช่วงนั้น หรืออาจเป็นบริการที่จัดคิวให้คนที่อยู่ทาง เดียวกัน ได้ใช้รถร่วมกันก็ได้
การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน (EcoDesign)
นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุดต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะแม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวกำหนด โครงสร้างต้นทุนถึง 60-80% การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (EcoDesign) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อ กระบวนการผลิตสินค้า โดยเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการ ออกแบบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของ ผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดย ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น หลักการพื้นฐานของการทำ EcoDesign คือ การนำหลัก 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำ กลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือตั้งแต่ การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิต การนำไปใช้และการทำลายหลังการใช้เสร็จ ความสำคัญของ EcoDesign มิใช่เป็นเพียงแค่แนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังมีความสำคัญต่อการค้าและ การส่งออกอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือ ญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีการออกข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่ สัมพันธ์กับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment; WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดใน ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment; RoHS) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการซากของยานยนต์ (End of Life Vehicles; ELV) ซึ่งมาตรการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเศษ ซากวัสดุจากผลิตภัณฑ์ของตน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของตนเพื่อที่จะสามารถส่งออก สินค้าได้ EcoDesign เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากแนวทางอื่นๆ ที่เป็น ที่รู้จักกันดีไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology; CT) หรือวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) ซึ่งในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษา หลายแห่งที่มีโครงการศึกษาและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน EcoDesign มากขึ้น ตลอดจนการ เผยแพร่ความรู้และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำ EcoDesign มาผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (EcoProduct)
อาหารฉลากเขียว (Green foods)
อาหารที่ได้รับการประกันคุณภาพอาหาร ที่เรียกว่า eco-food หรือ eco-labeled food ได้แก่ Green food (อาหารฉลากเขียว) และ Hazard-free food (อาหาร ปราศจากอันตราย) Organic food (อาหารอินทรีย์) อาหารฉลากเขียวเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีขายอยู่ ทั่วไปในตลาดในประเทศจีน การที่จะได้รับใบรับรองอาหาร สีเขียวในประเทศจีนจะต้องกระทำดังนี้
1. ท้องที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องมีสภาพอากาศ ได้มาตรฐานสูงสุดของประเทศจีน
2. จะต้องควบคุมโลหะหนักตกค้างในดินและ น้ำชลประทาน (โดยการตรวจสอบสารปรอท แคดเมียม สารหนูตะกั่ว โครเมียม และอื่น ๆ)
3. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องได้มาตรฐาน น้ำดื่มของประเทศ
4. การใช้สารเคมีต้องอยู่ในการควบคุมดูแล สาร กำจัดโรคแมลงที่เป็นพิษมาก ๆ
http://chm-thai.onep.go.th/chm/Business/document-pdf/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/green%20product.pdf
“ผลิตภัณฑ์สีเขียว” จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการทางตลาดแบบที่เรียกว่า การตลาดสีเขียว (green marketing) ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแลสภาพแวดล้อมของโรงงานให้สะอาด มีมาตรการกำจัดของเสียออกจากโรงงานไม่ให้ออกมาทำลาย สิ่งแวดล้อม รวมทั้งในแง่วิจัยและพัฒนาก็ต้องไม่ให้เป็น พิษภัยกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา เช่น เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โฟมซึ่งย่อยสลายได้ยากให้เป็นวัสดุอื่น เลิกใช้ถุง หรือขวดพลาสติก หันมาใช้วัสดุอื่นเพื่อการรีไซเคิลได้ในต่างประเทศการตลาดสีเขียวที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงมากจะ เป็นเรื่องของ “บรรจุภัณฑ์” โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม เพราะภาชนะเหล่านี้เมื่อใช้ไปแล้วทิ้งไป ธรรมชาติ จะย่อยสลายได้ในเวลาต่างๆ กัน เช่น แก้วจะย่อยสลายในเวลากว่าพันปีถุงพลาสติกใช้เวลาหลายพันปีส่วนโลหะใช้ เวลาเพียงร้อยปีและกระดาษเพียงสิบปีเท่านั้น ดังนั้น ผู้ผลิตที่ใช้วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเร็วกว่า ย่อมได้ เปรียบคู่ต่อสู้ในแง่การตลาดสีเขียวมากกว่า ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการ ตลาดสีเขียว (green marketing) ในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับ green ใช้เกณฑ์การวัดทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว โดยดู ที่ยอดขายสินค้า ไม่เน้นการวัดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพ เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัด พลังงาน รถยนต์ใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน สวนผักปลอดสารพิษ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก เป็นต้น ระดับ greener มีจุดประสงค์มากกว่าการทำยอดขาย แต่หวังผลด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมให้คน ร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และทรัพยากร มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มากขึ้น เช่น นอกจากขาย รถยนต์ประหยัดพลังงานแล้ว บริษัทยังมีแคมเปญรณรงค์ให้คนใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีการจัดกิจกรรม วันเช็คสภาพรถ และให้ความรู้หมั่นตรวจสภาพรถบ่อยๆ เป็นการประหยัดน้ำมัน และลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออก มาสู่อากาศด้วย ดังนั้นตัววัดระดับนี้จึงมีทั้งยอดขายและ จำนวนคนที่มาร่วมกิจกรรม ระดับ greenest เป็นระดับที่ ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ขึ้นในสังคม เช่น การบริการที่เปิดโอกาสให้คนที่เป็น เจ้าของรถยนต์ประหยัดน้ำมันแต่ไม่ค่อยได้ใช้รถ กรณีต้อง ไปทำงานต่างประเทศช่วงหนึ่งโดยนำรถมาให้คนอื่นเช่า ขับช่วงนั้น หรืออาจเป็นบริการที่จัดคิวให้คนที่อยู่ทาง เดียวกัน ได้ใช้รถร่วมกันก็ได้
การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน (EcoDesign)
นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุดต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะแม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวกำหนด โครงสร้างต้นทุนถึง 60-80% การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (EcoDesign) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อ กระบวนการผลิตสินค้า โดยเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการ ออกแบบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของ ผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดย ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น หลักการพื้นฐานของการทำ EcoDesign คือ การนำหลัก 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำ กลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือตั้งแต่ การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิต การนำไปใช้และการทำลายหลังการใช้เสร็จ ความสำคัญของ EcoDesign มิใช่เป็นเพียงแค่แนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังมีความสำคัญต่อการค้าและ การส่งออกอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือ ญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีการออกข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่ สัมพันธ์กับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment; WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดใน ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment; RoHS) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการซากของยานยนต์ (End of Life Vehicles; ELV) ซึ่งมาตรการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเศษ ซากวัสดุจากผลิตภัณฑ์ของตน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของตนเพื่อที่จะสามารถส่งออก สินค้าได้ EcoDesign เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากแนวทางอื่นๆ ที่เป็น ที่รู้จักกันดีไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology; CT) หรือวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) ซึ่งในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษา หลายแห่งที่มีโครงการศึกษาและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน EcoDesign มากขึ้น ตลอดจนการ เผยแพร่ความรู้และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำ EcoDesign มาผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (EcoProduct)
อาหารฉลากเขียว (Green foods)
อาหารที่ได้รับการประกันคุณภาพอาหาร ที่เรียกว่า eco-food หรือ eco-labeled food ได้แก่ Green food (อาหารฉลากเขียว) และ Hazard-free food (อาหาร ปราศจากอันตราย) Organic food (อาหารอินทรีย์) อาหารฉลากเขียวเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและมีขายอยู่ ทั่วไปในตลาดในประเทศจีน การที่จะได้รับใบรับรองอาหาร สีเขียวในประเทศจีนจะต้องกระทำดังนี้
1. ท้องที่ที่ใช้ในการเพาะปลูกต้องมีสภาพอากาศ ได้มาตรฐานสูงสุดของประเทศจีน
2. จะต้องควบคุมโลหะหนักตกค้างในดินและ น้ำชลประทาน (โดยการตรวจสอบสารปรอท แคดเมียม สารหนูตะกั่ว โครเมียม และอื่น ๆ)
3. น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตต้องได้มาตรฐาน น้ำดื่มของประเทศ
4. การใช้สารเคมีต้องอยู่ในการควบคุมดูแล สาร กำจัดโรคแมลงที่เป็นพิษมาก ๆ
http://chm-thai.onep.go.th/chm/Business/document-pdf/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2/green%20product.pdf
การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)
การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)
สำหรับธุรกิจที่เจ้าของหรือผู้บริหารมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและต้องการทำ ธุรกิจที่ไม่สร้างมลพิษหรือไม่ต้องการให้ธุรกิจมีส่วนในการเพิ่มสภาวะโลก ร้อนในรุนแรงมากขึ้น เรื่องของการติดตามรอยเท้าคาร์บอน หรือที่เรียกว่า คาร์บานฟุตพริ้นท์(Carbon Footprint)ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ตควรศึกษาทำความเข้าใจความจริงแล้ว “รอยเท้าคาร์บอน” ที่ว่านี้ จะหมายถึงการติดตามหรือตรวจวัดดูว่า ธุรกิจ,องค์กร,กิจกรรม,บุคคล หรือแม้กระทั่งสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” ออกสู่บรรยากาศมากน้อยเพียงใดกลุ่มก๊าซหรือสารเคมี ที่ได้ชื่อว่าเป็น ก๊าซเรือนกระจก ที่สำคัญมีอยู่ 6 ตัว ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Carbondioxide,CO2)ก๊าซมีเทน(Mthen,CH4)ก๊าซไนตรัส ออกไซด์(N2O)สารไฮโดรฟลูโอคาร์บอน(Hydorfluorcarbons,HFCs)สารเปอร์ฟลูออร์ โรคาร์บอน(Perfluorcarbons,PFCs)และสารซัลเฟอร์ เฮกฟลูออร์ไรด์(Suphur hexafluoride,SF6) แต่เพื่อให้การติดตามการปลดปล่อยก๊าซและสารเคมีเหล่านี้เป็นไปได้โดยสะดวก ขึ้น จึงมีการใช้หน่วยวัดมาตรฐาน โดยให้คำณวนปารปล่อยก๊าซต่างๆเหล่านี้ ให้เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ หรือ CO2 เพียงตัวเดียวจึงเป็นที่มาของคำว่า “รอยเท้าคาร์บอน” ซึ่งหมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนได อ็อกไซด์ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ ไม่ว่าจะโดยความตั้งใจหรือไม่ก็ตามในกรณีนี้ คำว่า “คาร์บอน” ก็หมายถึง ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์การติดตามวัดดูว่าธุรกิจใด มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมี คาร์บอนฟุตพริ้นท์ มากน้อยเท่าใดนั้น มักจะนิยมวัดกัน 2 วิธี คือ วัดดูว่าดดยรวมทั้งหมดในการปประกอบการของธุรกิจนั้นมีปริมาณคาร์บอนฟุต พริ้นท์เท่าใด ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือ การวัดดูว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละตัวขิงธุรกิจ นับตั้งแต่การใช้วัตถุดิบกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัดทิ้ง ทั้งวงจรมีการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกไปมากน้อยเพียงใดการวัดค่าหรือที่มักจะเรียกกันว่า การประเมิณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ นี้ จะมีประโยชน์ทำให้กิจการได้ทราบว่าปัจจุบันธุรกิจมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปเท่าใด และธุรกิจจะจัดเตรียมมาตรการใด เพื่อพยายามลดค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ให้น้อยลงเปรียบเสมือนกับการมีบรรทัดฐานตั้งต้นไว้เพื่อการติดตามควบคุม และพัฒนาให้ดีขึ้นนั่นเอง เป็นการแสดงความมุ่งมั่นของธุรกิจจะดูแลรักษาโลกและสังคมโดยทั่วไป ประโยชน์จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การลดการใช้พลังงานการพัฒนาเทคโนดลยีและกระบวนการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และการได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
การประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ระดับองค์กร จะทำกัน 3 ระดับ
ระดับที่ 1 ได้แก่การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมหลักของธุรกิจ โดยตรง เช่น ก๊าซที่ปล่อยออกมาจากการผลิต กระบวนการผลิต รวมถึงก๊าซที่ปล่อยออกจากยานพาหนะทุกชนิดที่ธุรกิจเป็นเจ้าของ
ระดับที่ 2 ได้แก่การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางอ้อมที่ธุรกิจต้อง จัดวื้อหรือจัดหามาประกอบการดำเนินธุรกิจ เช่น การปล่อยก๊าซจากการผลิตไฟฟ้า พลังงานอื่นๆ เช่น ความร้อน หรือ ไอน้ำ เป็นต้น
ระดับที่ 3 ได้แก่การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมอื่นๆ ที่ธุรกิจดำเนินการ เช่น การปล่อยก๊าซจากการเดินทางติดต่อธุรกิจ การเดินทางทำงานของพนักงาน หรือ จากขยะ ของเสีย หรือ ของเหลือทั้งที่ธุรกิจเป็นผู้สร้างขึ้น
ส่วนการประเมินค่าคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์นั้นหลักการก็คือ การประเมินค่าก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เริ่มจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ การผลิต หรือประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน ตลอดไปจนถึงการกำจัดซากของผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วรวมไปถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากซัพพลายเออร์หรือผู้จัดหาและ ส่งมอบวัตถุดิบ ผู้กระจายสินค้าหรือผู้จำหน่ายและลูกค้า ผู้ใช้งาน หรือ ผู้บริโภค ถึงแม้ว่า การประเมินค่าคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ ในทางปฏิบัติจะมีความซับซ้อนและความเป็นเทคนิคค่อนข้างมาก ธุรกิจอาจต้องใช้บริการของที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือ การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ มาช่วยในการประเมินค่า แต่การที่ธุรกิจจะริเริ่มเพื่อให้มีการติดตาม รอยเท้าคาร์บอน ในการทำธุรกิจของตนเอง แล้วนอกจากจะทำให้ธุรกิจสามารถลดการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตโดยตรงแล้ว ยังจะทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในเชิงการตลาดที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดการแยกแยะในการตัดสินใจซื้อให้กับผู้บริโภคที่มีความห่วงใยต่อสภาพ แวดล้อมและยังเป็นการเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน มีประเทสที่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหลายประเทศ ได้มีการนำระบบคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ มาใช้แล้ว เช่นสหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้สินค้านำเข้าจากประเทศไทยบางรายการถูกร้องของให้มีการจัดทำ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยหากผู้ประกอบการไทยยังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ก็อาจทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้ง่ายๆ
2. การตลาดสีเขียวในประเทศ และ บนเวทีโลก
“ผลิตภัณฑ์สีเขียว” (Green Product) จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการทางตลาดแบบที่เรียกว่า การตลาดสีเขียว (Green Marketing) ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแลสภาพแวดล้อมของโรงงานให้สะอาด มีมาตรการกำจัดของเสียออกจากโรงงานไม่ให้ออกมาทำลาย สิ่งแวดล้อม รวมทั้งในแง่วิจัยและพัฒนาก็ต้องไม่ให้เป็นพิษภัยกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา เช่น เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โฟมซึ่งย่อยสลายได้ยากให้เป็นวัสดุอื่น เลิกใช้ถุงหรือขวดพลาสติก หันมาใช้วัสดุอื่นเพื่อการรีไซเคิลได้

รูปภาพขวดน้ำอัดลม
ในต่างประเทศการตลาดสีเขียวที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงมากจะเป็นเรื่องของ “บรรจุภัณฑ์” (Packaging) โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม เพราะภาชนะเหล่านี้เมื่อใช้ไปแล้วทิ้งไป ธรรมชาติจะย่อยสลายได้ในเวลาต่างๆ กัน เช่น แก้วจะย่อยสลายในเวลากว่าพันปี ถุงพลาสติกใช้เวลาหลายพันปี ส่วนโลหะใช้เวลาเพียงร้อยปี และกระดาษเพียงสิบปีเท่านั้น ดังนั้น ผู้ผลิตที่ใช้วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเร็วกว่า ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้ในแง่การตลาดสีเขียวมากกว่า ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการตลาดสีเขียว (Green Marketing) ในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับ green ใช้เกณฑ์การวัดทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว โดยดูที่ยอดขายสินค้า ไม่เน้นการวัดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพ เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์บริการ และกระบวนการผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์ใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน สวนผักปลอดสารพิษ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก เป็นต้น
ระดับ greener มีจุดประสงค์มากกว่าการทำยอดขาย แต่หวังผลด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมให้คนร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และทรัพยากร มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มากขึ้น เช่น นอกจากขายรถยนต์ประหยัดพลังงานแล้ว บริษัทยังมีแคมเปญรณรงค์ให้คนใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมวันเช็คสภาพรถ และให้ความรู้ หมั่นตรวจสภาพรถบ่อยๆ เป็นการประหยัดน้ำมัน และลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมาสู่อากาศด้วย
ดังนั้นตัววัดระดับนี้จึงมีทั้งยอดขายและจำนวนคนที่มาร่วมกิจกรรม ระดับ greenest เป็นระดับที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม เช่น การบริการที่เปิดโอกาสให้คนที่เป็นเจ้าของรถยนต์ประหยัดน้ำมันแต่ไม่ค่อยได้ใช้รถ กรณีต้องไปทำงานต่างประเทศช่วงหนึ่งโดยนำรถมาให้คนอื่นเช่าขับช่วงนั้นหรืออาจเป็นบริการที่จัดคิวให้คนที่อยู่ทางเดียวกันได้ใช้รถร่วมกันก็ได้คราวต่อไป เราจะมาดูกันต่อว่า แล้วเราจะออกแบบผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้อย่างไร

รูปภาพแก้วกาแฟกระดาษ
2.1 แนวคิดการตลาดสีเขียวในประเทศและต่างประเทศ
แนวคิดตลาดสีเขียวแต่เดิมมาจากเรื่องการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่พยายามลดสารเคมีใดๆ เข้ามารบกวน มีกระบวนการปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง ได้รสชาติที่อร่อยถูกปาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับการบริโภค ในขณะเดียวกันเกษตรอินทรีย์นั้นก็ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และไม่ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล3 แต่ในปัจจุบันตลาดสีเขียวได้ขยายความกว้างออกไปจนครอบคลุมสินค้าและบริการในภาคอุตสาหกรรมแล้ว และในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งจะเป็นส่งเสริมการตลาดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้อีกส่วนหนึ่ง นอกจากความดีของตัวสินค้าและบริการที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเอง
อย่างไรก็ตาม การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะทำให้ตลาดสีเขียวมีความยั่งยืน โดยเครือข่ายตลาดสีเขียวประกอบด้วย
• Green Product ผลิตภัณฑ์เขียวๆ ที่ผลิตโดยกรรมวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• Green Business Producer ซึ่งผลิตภัณฑ์เขียวๆ นี้เกิดขึ้นไม่ได้หากขาดผู้ผลิตที่เข้าใจและเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม
• Green Consumer ในเมื่อมีผู้ผลิตก็ย่อมต้องมีผู้บริโภค ซึ่งก็จะเกิดสมดุลในตลาด รวมไปถึงสร้างสมดุลธรรมชาติไปในตัวด้วย
• Green Community เมื่อมีการบริโภคเขียวๆ กันทั้งระบบก็จะก่อให้เกิดสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหลายทั้งมวลนั้นนอกจากโลกแล้วก็คือมนุษย์นั่นเอง
ในระดับเวทีการแข่งขันของผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจนเห็นไปชัด ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้ Corporate Social Responsibility (CSR) (อ่านเพิ่มเติมหัวข้อที่เกี่ยวข้อง) ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ อาจจะมีทั้งตัวจริงและตัวปลอมเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าใครคือตัวจริงที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง ตัวอย่างของผู้ผลิตที่ดำเนินธุรกิจโดยใช้นโยบาย CSR เช่น แมคโดนัลด์ ฮอนด้า โลตัส P&G Pampers และ Coca-Cola เป็นต้น4,5
ตัวอย่างของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์สีเขียว เช่น ประเทศอิตาลีซึ่งมีการขานรับเรื่องนี้อย่างชัดเจน6 การประเมินตลาดของจีนพบว่าผู้บริโภคสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า5 เป็นต้นดังนั้น ประเทศไทยต้องเพิ่มการรณรงค์เรื่องผลิตภัณฑ์สีเขียว และตลาดสีเขียวให้มากขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของสินค้าประเภทนี้
2.2 ความจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัว
จากที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่าภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถจะอยู่เฉยได้ อีกต่อไป ทั้งด้วยแรงกดดันจากภาคส่วนต่างๆ และผลกระทบที่ได้รับโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเรียนรู้ในการปรับตัวเรื่องการปรับเปลี่ยนขบวนการผลิต การขนส่งเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องต้นทุน และปริมาณมลพิษ ต้องมีการสร้างภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาด เพราะในปัจจุบันสื่อประชาสัมพันธ์มีมากมาย และข่าวสารที่ส่งผ่านสังคมออนไลน์กำลังจะเป็นตัวแปรสำคัญของสินค้าและบริการเลยทีเดียว นอกจากนี้ต้องมีการเรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการทำธุรกิจ
http://www.environnet.in.th/2014/?p=5649“การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม” ไม้เด็ดครองใจผู้บริโภค
“การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม” ไม้เด็ดครองใจผู้บริโภค
![]() |
การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของหลายธุรกิจที่เราได้เห็นอยู่ มักมีราคาแพงขึ้นเป็นค่า “ใฝ่ดี”
แต่กรณี “พรานทะเล” ที่ชูกลยุทธ์ Green Marketing กลับสามารถเสนอสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐานด้วยราคาลดลงได้ ย่อมถูกใจผู้บริโภคแน่
ดร.ธงชัย ธาวนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ชี้ประเด็นว่า ปัจจุบันคนทั่วโลกต่างตื่นตัวเรื่องภาวะ “โลกร้อน” กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมโลกที่ทุกคนสัมผัสได้ จึงเป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัท พรานทะเลได้ปรับนโยบายการดำเนินธุรกิจ มุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตอาหารแช่แข็งที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม
“พรานทะเลเชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ด้านนวัตกรรมและการเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ จะสร้างแรงจูงใจในการซื้อกับผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคเห็นประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากราคาสินค้าที่ถูกลง หรือปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น และเกิดความรู้สึกว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่ผู้บริโภคเองมีสิทธิ์เลือกสนับสนุนสินค้าที่มีส่วนช่วยโลก ช่วยสังคมให้น่าอยู่ขึ้น และยังสามารถขยายฐานกลุ่มลูกค้า ไปยังกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างภาพลักษณ์องค์กรและแบรนด์ในระยะยาว และการเข้าไปครองใจผู้บริโภคอย่างยั่งยืน” ผู้บริหารสูงสุดของพรานทะเล กล่าวย้ำ
ผลลัพธ์ทางการตลาด
อนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดและฝ่ายปฏิบัติการของพรานทะเล เล่าถึงยุทธวิธีว่า มีการสื่อสารไปยังผู้บริโภคว่าทั้งสินค้าและโรงงานที่ผลิตสินค้าของพรานทะเลนั้นมีความเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม คือ 1) จ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาช่วยวางระบบการผลิต เพื่อให้สามารถลดคาร์บอนยูนิตในขั้นตอนการผลิต เริ่มขึ้นเมื่อราวกลางปี 2553 2) ในแง่บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการลดการใช้ภาชนะที่เป็นถ้วยพลาสติกและโฟมลง เริ่มจากสินค้าข้าวต้มพรานทะเล (ซีฟูด) และพรานไพร (หมู-ไก่) ใช้แนวคิดว่า “ข้าวต้มพรานทะเลลดโลกร้อน”
เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ได้ช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกลง 65% หรือประมาณ 63 ตัน/ปี เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 200,000 กิโลวัตต์ต่อปี หรือการปิดไฟนีออน 3,000 ดวง เป็นระยะเวลา 1 ปีทีเดียว
ในแง่ของผู้บริโภคก็สามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้ เพราะข้าวต้มแพกเกจใหม่ที่มีต้นทุนค่าภาชนะและการขนส่งลดลงก็มีการลดราคาขายจาก 49 เหลือ 39 และจาก 39 เหลือ 29 บาท หรือลดลงถึง 15% ในขณะที่ปริมาณเพิ่มมากขึ้น
นั่นเป็นผลลัพธ์จากกลยุทธ์การตลาดครึ่งปีแรกที่ได้ชูกลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่นวัตกรรมใหม่ๆ จากการวิจัยและพัฒนาในตลาดอาหารทะเลแช่แข็ง มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่กลุ่มสินค้าพร้อมทาน คือ เมนูข้าวต้มพรานทะเลแพกเกจใหม่ลดโลกร้อน ซึ่งขายดีเป็นอันดับหนึ่งของพรานทะเล อีกทั้งการส่งเสริมการตลาดโดยการกระจายสินค้าไปยัง Modern Trade ต่างๆ อย่างทั่วถึง ควบคู่การจัดโปรโมชั่น ลด แลกแต่จะเน้นที่สินค้ากลุ่มซูชิมากขึ้น
น่าสังเกตว่าเดิมทีพรานทะเลเป็นผู้ผลิตซูชิให้กับ Modern Trade ภายใต้แบรนด์ที่แตกต่างกัน คือผลิต Hideko, Kai-ou, Yuri และ I Sushi ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน เพื่อสร้างการจดจำในสินค้ากลุ่มซูชิของพรานทะเลให้กับผู้บริโภค บริษัทฯ จึงจะรีแบรนดิ้ง เป็น “พรานทะเลซูชิ” ชื่อเดียวแต่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
Prantalay Sushi Platinum: พรานทะเลซูชิแพลทินัม ขนาดจัมโบ้ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูง ราคาประมาณ 139-239 บาทต่อเซต
Prantalay Sushi Gold: พรานทะเลซูชิโกลด์ ปรับขนาดและราคาลงมาเล็กน้อย ราคาประมาณ 49-99 บาทต่อเซต
Prantalay Sushi Fusion: พรานทะเลซูชิฟิวชั่น ยังคงให้ความสำคัญกับวัตถุดิบที่มีคุณภาพในราคาที่กลุ่มบริโภคซื้อได้ง่ายขึ้น จุดเด่นคือ การออกแบบอย่างสร้างสรรค์ ทั้งรูปทรงและสีสันที่สดใส จัดจ้านมากขึ้น ราคาสบายกระเป๋า ประมาณ 7 และ10 บาท
จุดขายสำคัญของพรานทะเลซูชิ นอกจากจะมีหลายราคา ครอบคลุมผู้บริโภคทุกกลุ่มแล้ว คือการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคจดจำว่า พรานทะเลซูชิเป็นซูชิแท้ 100% เพราะผลิตจากข้าวญี่ปุ่น เม็ดอ้วนกลมที่ใช้สำหรับทำซูชิโดยเฉพาะ และใช้วัตถุดิบที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล GMP และ HACCP ผ่านการผลิตที่ถูกสุขอนามัย
จุดเด่นอีกประการของซูชิพรานทะเล คือการใช้ถาดย่อยสลายได้ตามธรรมชาติซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่ตัวถาดนำมาบรรจุอาหารได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้งานได้เหมือนถาดพลาสติกทั่วๆ ไป แต่การย่อยสลายเมื่อเลิกใช้งานแล้วจะใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ความร้อน ความชื้น ภาวะกรด-ด่าง ออกซิเจน รวมถึงแรงเค้นจากเม็ดฝนและแรงลม
โดยเฉพาะการออกงาน THAIFEX-World of Food Asia 2011 ที่เพิ่งผ่านไป มีผู้เข้าชมงานทั้งในและต่างประเทศได้สัมผัสถึงนวัตกรรมอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อสุขภาพ หัวใจสีเขียวของพรานทะเลก็ได้รับการตอบรับคึกคัก แค่ 2 วัน ทำรายได้เกือบ 7 แสนบาท สูงกว่าปีที่แล้วซึ่งทำยอดขาย 5 แสนบาท
กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยที่ผู้บริหารพรานทะเลมั่นใจว่า จะสามารถสร้างแรงจูงใจในการซื้อ เนื่องจากผู้บริโภคเห็นประโยชน์ที่จะได้รับอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และยังสามารถขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้นได้อีกด้วยเพราะราคาที่ถูกลง ที่สำคัญคือจะช่วยในเรื่องภาพลักษณ์องค์กรและแบรนด์ในระยะยาวอย่างยั่งยืน แจก แถม และการดำเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวาง
ส่งผลให้ในครึ่งปีแรก บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตของยอดขายรวมกว่า 600 ล้านบาท
บุกต่อเนื่องครึ่งปีหลัง
พรานทะเลยังคงมุ่งไปที่สินค้า 3 กลุ่มหลักคือ สินค้าพร้อมปรุง (Ready to Cook), สินค้าพร้อมทาน (Ready to Eat) และซูชิ (Sushi)
http://www.manager.co.th/mgrweekly/ViewNews.aspx?NewsID=9540000068067CSR กับการตลาดเพื่อสังคม (Societal Marketing)
CSR กับการตลาดเพื่อสังคม (Societal Marketing) |
CSR กับการตลาดเพื่อสังคม (Societal Marketing)
การตลาด (Marketing)นอกจากจะเป็นพระเอกเพราะมีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมต่างๆที่ช่วยให้ธุรกิจเจริญเติบโตแล้วในทางกลับกันการตลาดก็ถูกมองว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของระบบทุนนิยมโดยการสร้างให้เกิดวัฒนธรรมบริโภคนิยม รวมถึงวัตถุนิยมขึ้นมาจนมากเกินความพอดีบางครั้งก็กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคให้มีความต้องการในสิ่งที่ไม่จำเป็นจนดูเหมือนว่าจะสวนทางกับกระแสการฟื้นฟูวิกฤตสังคมในเวลานี้ซึ่งเป็นยุคที่จิตสำนึกเพื่อส่วนรวมของคนในสังคมถูกปลุกขึ้นมาจากปัญหาและวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ ความเสื่อมถอยทางด้านคุณธรรม จริยธรรมปัญหาการเมืองและความเหลื่อมล้ำต่างๆ
แล้วการตลาดจะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาสังคมนี้ได้อย่างไร คำตอบคือหากมองว่าการตลาดเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งแล้วย่อมสามารถช่วยได้อย่างแน่นอนเพราะการตลาดจะช่วยให้การสื่อสารและการทำกิจกรรมต่างๆกับคนในสังคมทำได้อย่างตรงเป้าหมาย และสัมฤทธิ์ผลดังนั้นการตลาดจึงไม่ได้ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดบริโภคโดยไม่ยั้งคิดเท่านั้นแต่ยังช่วยในการปลุกจิตสำนึกที่ดีและความยั้งคิดให้กับผู้บริโภคได้ในอีกมุมหนึ่งด้วย
การตลาดเพื่อสังคม (Societal Marketing)เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ว่าด้วยการใช้เทคนิคทางการตลาดเข้ามาสอดแทรกและเกื้อหนุนวิธีการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีประเด็นทางสังคมเป็นสำคัญ ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง กลยุทธ์ต่างๆในตลาดสินค้าและบริการในปัจจุบันเริ่มหันมาสนใจกระบวนการส่งเสริมแนวคิดด้านสังคมต่อผู้บริโภคในเรื่องที่กำลังเป็นกระแสมากยิ่งขึ้น เช่น การบริโภคที่ยั่งยืน การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาสังคมด้านต่างๆ ได้มีประเด็นที่ถูกนำมาตีแผ่เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมบางอย่าง ตลอดจนสร้างแนวคิดใหม่ๆ ให้คนในสังคม ไม่เว้นแต่ในธุรกิจต้องห้าม(Demerits) เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็นำแนวคิดทางสังคมมาใช้ในการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรแทนการโฆษณาตัวสินค้าอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นการสะท้อนภาพการดำเนินนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ขององค์กรนั้นๆ ด้วย
แนวคิดการตลาดเพื่อสังคมเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการทำการตลาดอย่างยั่งยืน ซึ่งองค์กรนั้นจะต้องมีการวางแผนการผลิตสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับประเด็นหรือปัญหาทางสังคม หรือควรจะนำเสนอสินค้าและบริการที่เหนือความคาดหมายของคนในสังคม อาจมีบางคนให้ความคาดหวังกับองค์กรธุรกิจต่อการแนวคิดการตลาดเพื่อสังคมนี้ว่า เป็นปรัชญาที่เหมาะสมกับยุคแห่งความเสื่อมโทรมทางสภาพแวดล้อมที่ต้องแย่งชิงทรัพยากรกัน ปัญหาความยากจนและหิวโหย ซึ่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้กลายเป็นเป้าหมาย และความคาดหวังของสังคมที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และทดแทนสวัสดิการทางสังคมที่ขาดหายไป จากแนวคิดเหล่านี้เองทำให้ผู้ประกอบการเริ่มสนใจที่จะใช้ช่องว่างที่เป็นปัญหาของสังคมมาสร้างธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมก็สามารถสอดแทรกวิธีการตลาดเพื่อสังคมได้เช่นเดียวกัน ทั้งในรูปแบบของ Social Enterprise หรือองค์กรธุรกิจเพื่อสังคมนี้ ดูจะเป็นรูปแบบที่ลงตัวสำหรับผู้ประกอบการที่มีจิตสาธารณะต้องการทำความดีเพื่อสังคม เพราะเป็นรูปแบบที่สามารถทำได้อย่างยั่งยืนซึ่งใช้เครื่องมือทางการตลาดเพื่อสังคมเป็นกลยุทธ์หลักในการดำเนินงานเช่นกัน หรือตัวอย่างของธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก เช่น กลุ่ม Southern Salam ที่ได้ทำการสำรวจตลาดแล้วพบว่าผ้าคลุมผมสตรีชาวมุสลิมเป็นสินค้าหัตถกรรมอย่างหนึ่งซึ่งคนไทยในสามจังหวัดที่สามารถทำได้ดีจึงมีแผนให้การสนับสนุนอย่างครบวงจรทั้งต้นทุนวัตถุดิบการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงานของกลุ่มสตรีที่ได้รับผลกระทบในสามจังหวัดชายแดนใต้ นอกจากนี้จากการทำวิจัยยังพบว่าปัญหาด้านกลิ่นอับเป็นปัญหาสำคัญของผู้ใช้ผ้าชนิดนี้จึงมีการนำนาโนเทคโนโลยีที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของกลิ่นอับเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาและมีการศึกษาเพื่อเปิดตลาดใหม่ในตะวันออกกลาง และประเทศมุสลิมอื่นๆนอกจากนี้ยังมีการนำจุดแข็งของคนไทยในเรื่องของการออกแบบเข้ามาเสริม โดยการทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ชั้นนำของเมืองไทย
http://www.thaichamber.org/scripts/detail.asp?nNEWSID=4703 |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)