วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)

การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)

           สำหรับธุรกิจที่เจ้าของหรือผู้บริหารมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมและต้องการทำ ธุรกิจที่ไม่สร้างมลพิษหรือไม่ต้องการให้ธุรกิจมีส่วนในการเพิ่มสภาวะโลก ร้อนในรุนแรงมากขึ้น เรื่องของการติดตามรอยเท้าคาร์บอน หรือที่เรียกว่า คาร์บานฟุตพริ้นท์(Carbon Footprint)ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ตควรศึกษาทำความเข้าใจความจริงแล้ว “รอยเท้าคาร์บอน” ที่ว่านี้ จะหมายถึงการติดตามหรือตรวจวัดดูว่า ธุรกิจ,องค์กร,กิจกรรม,บุคคล หรือแม้กระทั่งสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ใดบ้างที่ปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” ออกสู่บรรยากาศมากน้อยเพียงใดกลุ่มก๊าซหรือสารเคมี ที่ได้ชื่อว่าเป็น ก๊าซเรือนกระจก ที่สำคัญมีอยู่ 6 ตัว ประกอบด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(Carbondioxide,CO2)ก๊าซมีเทน(Mthen,CH4)ก๊าซไนตรัส ออกไซด์(N2O)สารไฮโดรฟลูโอคาร์บอน(Hydorfluorcarbons,HFCs)สารเปอร์ฟลูออร์ โรคาร์บอน(Perfluorcarbons,PFCs)และสารซัลเฟอร์ เฮกฟลูออร์ไรด์(Suphur hexafluoride,SF6) แต่เพื่อให้การติดตามการปลดปล่อยก๊าซและสารเคมีเหล่านี้เป็นไปได้โดยสะดวก ขึ้น จึงมีการใช้หน่วยวัดมาตรฐาน โดยให้คำณวนปารปล่อยก๊าซต่างๆเหล่านี้ ให้เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ หรือ CO2 เพียงตัวเดียวจึงเป็นที่มาของคำว่า “รอยเท้าคาร์บอน” ซึ่งหมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เทียบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนได อ็อกไซด์ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ ไม่ว่าจะโดยความตั้งใจหรือไม่ก็ตามในกรณีนี้ คำว่า “คาร์บอน” ก็หมายถึง ก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์การติดตามวัดดูว่าธุรกิจใด มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมี คาร์บอนฟุตพริ้นท์ มากน้อยเท่าใดนั้น มักจะนิยมวัดกัน 2 วิธี คือ วัดดูว่าดดยรวมทั้งหมดในการปประกอบการของธุรกิจนั้นมีปริมาณคาร์บอนฟุต พริ้นท์เท่าใด ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือ การวัดดูว่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละตัวขิงธุรกิจ นับตั้งแต่การใช้วัตถุดิบกระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัดทิ้ง ทั้งวงจรมีการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกไปมากน้อยเพียงใดการวัดค่าหรือที่มักจะเรียกกันว่า การประเมิณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ นี้ จะมีประโยชน์ทำให้กิจการได้ทราบว่าปัจจุบันธุรกิจมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ไปเท่าใด และธุรกิจจะจัดเตรียมมาตรการใด เพื่อพยายามลดค่าคาร์บอนฟุตพรินท์ให้น้อยลงเปรียบเสมือนกับการมีบรรทัดฐานตั้งต้นไว้เพื่อการติดตามควบคุม และพัฒนาให้ดีขึ้นนั่นเอง เป็นการแสดงความมุ่งมั่นของธุรกิจจะดูแลรักษาโลกและสังคมโดยทั่วไป ประโยชน์จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การลดการใช้พลังงานการพัฒนาเทคโนดลยีและกระบวนการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และการได้ชื่อว่าเป็นองค์กรที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
การประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ระดับองค์กร จะทำกัน 3 ระดับ
ระดับที่ 1 ได้แก่การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมหลักของธุรกิจ โดยตรง เช่น ก๊าซที่ปล่อยออกมาจากการผลิต กระบวนการผลิต รวมถึงก๊าซที่ปล่อยออกจากยานพาหนะทุกชนิดที่ธุรกิจเป็นเจ้าของ
ระดับที่ 2 ได้แก่การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทางอ้อมที่ธุรกิจต้อง จัดวื้อหรือจัดหามาประกอบการดำเนินธุรกิจ เช่น การปล่อยก๊าซจากการผลิตไฟฟ้า พลังงานอื่นๆ เช่น ความร้อน หรือ ไอน้ำ เป็นต้น
ระดับที่ 3 ได้แก่การประเมินค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมอื่นๆ ที่ธุรกิจดำเนินการ เช่น การปล่อยก๊าซจากการเดินทางติดต่อธุรกิจ การเดินทางทำงานของพนักงาน หรือ จากขยะ ของเสีย หรือ ของเหลือทั้งที่ธุรกิจเป็นผู้สร้างขึ้น
ส่วนการประเมินค่าคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์นั้นหลักการก็คือ การประเมินค่าก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เริ่มจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่งวัตถุดิบ การผลิต หรือประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน ตลอดไปจนถึงการกำจัดซากของผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วรวมไปถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากซัพพลายเออร์หรือผู้จัดหาและ ส่งมอบวัตถุดิบ ผู้กระจายสินค้าหรือผู้จำหน่ายและลูกค้า ผู้ใช้งาน หรือ ผู้บริโภค ถึงแม้ว่า การประเมินค่าคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ ในทางปฏิบัติจะมีความซับซ้อนและความเป็นเทคนิคค่อนข้างมาก ธุรกิจอาจต้องใช้บริการของที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ หรือ การสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ มาช่วยในการประเมินค่า แต่การที่ธุรกิจจะริเริ่มเพื่อให้มีการติดตาม รอยเท้าคาร์บอน ในการทำธุรกิจของตนเอง แล้วนอกจากจะทำให้ธุรกิจสามารถลดการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตโดยตรงแล้ว ยังจะทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น สามารถนำไปใช้ในเชิงการตลาดที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้เกิดการแยกแยะในการตัดสินใจซื้อให้กับผู้บริโภคที่มีความห่วงใยต่อสภาพ แวดล้อมและยังเป็นการเตรียมตัวสำหรับการแข่งขันทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบัน มีประเทสที่ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหลายประเทศ ได้มีการนำระบบคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ มาใช้แล้ว เช่นสหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้สินค้านำเข้าจากประเทศไทยบางรายการถูกร้องของให้มีการจัดทำ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ด้วยหากผู้ประกอบการไทยยังไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ ก็อาจทำให้สูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้ง่ายๆ

2. การตลาดสีเขียวในประเทศ และ บนเวทีโลก

“ผลิตภัณฑ์สีเขียว” (Green Product) จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการทางตลาดแบบที่เรียกว่า การตลาดสีเขียว (Green Marketing) ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่กระบวนการผลิต ดูแลสภาพแวดล้อมของโรงงานให้สะอาด มีมาตรการกำจัดของเสียออกจากโรงงานไม่ให้ออกมาทำลาย สิ่งแวดล้อม รวมทั้งในแง่วิจัยและพัฒนาก็ต้องไม่ให้เป็นพิษภัยกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา เช่น เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โฟมซึ่งย่อยสลายได้ยากให้เป็นวัสดุอื่น เลิกใช้ถุงหรือขวดพลาสติก หันมาใช้วัสดุอื่นเพื่อการรีไซเคิลได้
image0083 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)
รูปภาพขวดน้ำอัดลม
ในต่างประเทศการตลาดสีเขียวที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงมากจะเป็นเรื่องของ “บรรจุภัณฑ์” (Packaging) โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม เพราะภาชนะเหล่านี้เมื่อใช้ไปแล้วทิ้งไป ธรรมชาติจะย่อยสลายได้ในเวลาต่างๆ กัน เช่น แก้วจะย่อยสลายในเวลากว่าพันปี ถุงพลาสติกใช้เวลาหลายพันปี ส่วนโลหะใช้เวลาเพียงร้อยปี และกระดาษเพียงสิบปีเท่านั้น ดังนั้น ผู้ผลิตที่ใช้วัสดุผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเร็วกว่า ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้ในแง่การตลาดสีเขียวมากกว่า ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการตลาดสีเขียว (Green Marketing) ในระดับต่างๆ ได้แก่ ระดับ green ใช้เกณฑ์การวัดทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว โดยดูที่ยอดขายสินค้า ไม่เน้นการวัดการเปลี่ยนแปลงในสังคม ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพ เป็นธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์บริการ และกระบวนการผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ทั่วไป เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน รถยนต์ใช้พลังงานทดแทนน้ำมัน สวนผักปลอดสารพิษ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก เป็นต้น
ระดับ greener มีจุดประสงค์มากกว่าการทำยอดขาย แต่หวังผลด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยส่งเสริมให้คนร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์และทรัพยากร มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์มากขึ้น เช่น นอกจากขายรถยนต์ประหยัดพลังงานแล้ว บริษัทยังมีแคมเปญรณรงค์ให้คนใช้รถอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีการจัดกิจกรรมวันเช็คสภาพรถ และให้ความรู้ หมั่นตรวจสภาพรถบ่อยๆ เป็นการประหยัดน้ำมัน และลดปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมาสู่อากาศด้วย
ดังนั้นตัววัดระดับนี้จึงมีทั้งยอดขายและจำนวนคนที่มาร่วมกิจกรรม ระดับ greenest เป็นระดับที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม เช่น การบริการที่เปิดโอกาสให้คนที่เป็นเจ้าของรถยนต์ประหยัดน้ำมันแต่ไม่ค่อยได้ใช้รถ กรณีต้องไปทำงานต่างประเทศช่วงหนึ่งโดยนำรถมาให้คนอื่นเช่าขับช่วงนั้นหรืออาจเป็นบริการที่จัดคิวให้คนที่อยู่ทางเดียวกันได้ใช้รถร่วมกันก็ได้คราวต่อไป เราจะมาดูกันต่อว่า แล้วเราจะออกแบบผลิตภัณฑ์ของเราเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้อย่างไร
image0092 การปรับตัวระดับภาคอุตสาหกรรม : การตลาดสีเขียว (Green Marketing)
รูปภาพแก้วกาแฟกระดาษ
2.1 แนวคิดการตลาดสีเขียวในประเทศและต่างประเทศ
แนวคิดตลาดสีเขียวแต่เดิมมาจากเรื่องการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ที่พยายามลดสารเคมีใดๆ เข้ามารบกวน มีกระบวนการปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอย่างแท้จริง ได้รสชาติที่อร่อยถูกปาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับการบริโภค ในขณะเดียวกันเกษตรอินทรีย์นั้นก็ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม และไม่ทำให้ธรรมชาติเสียสมดุล3 แต่ในปัจจุบันตลาดสีเขียวได้ขยายความกว้างออกไปจนครอบคลุมสินค้าและบริการในภาคอุตสาหกรรมแล้ว และในอนาคตก็มีแนวโน้มที่จะได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งจะเป็นส่งเสริมการตลาดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้อีกส่วนหนึ่ง นอกจากความดีของตัวสินค้าและบริการที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเอง
อย่างไรก็ตาม การสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งเท่านั้นที่จะทำให้ตลาดสีเขียวมีความยั่งยืน โดยเครือข่ายตลาดสีเขียวประกอบด้วย
• Green Product ผลิตภัณฑ์เขียวๆ ที่ผลิตโดยกรรมวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• Green Business Producer ซึ่งผลิตภัณฑ์เขียวๆ นี้เกิดขึ้นไม่ได้หากขาดผู้ผลิตที่เข้าใจและเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม
• Green Consumer ในเมื่อมีผู้ผลิตก็ย่อมต้องมีผู้บริโภค ซึ่งก็จะเกิดสมดุลในตลาด รวมไปถึงสร้างสมดุลธรรมชาติไปในตัวด้วย
• Green Community เมื่อมีการบริโภคเขียวๆ กันทั้งระบบก็จะก่อให้เกิดสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์ทั้งหลายทั้งมวลนั้นนอกจากโลกแล้วก็คือมนุษย์นั่นเอง
ในระดับเวทีการแข่งขันของผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจนเห็นไปชัด ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้ Corporate Social Responsibility (CSR) (อ่านเพิ่มเติมหัวข้อที่เกี่ยวข้อง) ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ อาจจะมีทั้งตัวจริงและตัวปลอมเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าใครคือตัวจริงที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง ตัวอย่างของผู้ผลิตที่ดำเนินธุรกิจโดยใช้นโยบาย CSR เช่น แมคโดนัลด์ ฮอนด้า โลตัส P&G Pampers และ Coca-Cola เป็นต้น4,5
ตัวอย่างของผู้บริโภคที่ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์สีเขียว เช่น ประเทศอิตาลีซึ่งมีการขานรับเรื่องนี้อย่างชัดเจน6 การประเมินตลาดของจีนพบว่าผู้บริโภคสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า5 เป็นต้นดังนั้น ประเทศไทยต้องเพิ่มการรณรงค์เรื่องผลิตภัณฑ์สีเขียว และตลาดสีเขียวให้มากขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของสินค้าประเภทนี้
2.2 ความจำเป็นที่ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัว
จากที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่าภาคอุตสาหกรรมไม่สามารถจะอยู่เฉยได้ อีกต่อไป ทั้งด้วยแรงกดดันจากภาคส่วนต่างๆ และผลกระทบที่ได้รับโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเรียนรู้ในการปรับตัวเรื่องการปรับเปลี่ยนขบวนการผลิต การขนส่งเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องต้นทุน และปริมาณมลพิษ ต้องมีการสร้างภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการตลาด เพราะในปัจจุบันสื่อประชาสัมพันธ์มีมากมาย และข่าวสารที่ส่งผ่านสังคมออนไลน์กำลังจะเป็นตัวแปรสำคัญของสินค้าและบริการเลยทีเดียว นอกจากนี้ต้องมีการเรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการทำธุรกิจ
http://www.environnet.in.th/2014/?p=5649

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น